วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

วิชาวิทยาศาสตร์

คำอธิบายรายวิชาวิทยาศาสตร์ 1
รายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 60 ชั่วโมง
.....ศึกษาวิเคราะห์ เซลล์และส่วนประกอบของเซลล์ โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืช การสร้างอาหารของพืช การลำเลียงอาหารของพืช การเจริญเติบโตและการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การสืบพันธุ์ของพืช เทคโนโลยีชีวภาพเกี่ยวข้องกับพืช ส่วนประกอบและการแบ่งชั้นบรรยากาศ สมบัติของอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ ปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ การพยากรณ์อากาศ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ โดยการสำรวจตรวจสอบ สืบค้นข้อมูลและการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ คิดอย่างมีเหตุผล สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ สามารถตัดสินใจอย่างเป็นระบบ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่สอดคล้องเหมาะสมกับท้องถิ่น
ตัวชี้วัด
ว. 1.1 ม. 1/1, ว. 1.1 ม. 1/2 , ว. 1.1 ม. 1/3, ว. 1.1 ม. 1/4, ว. 1.1 ม. 1/5, ว. 1.1 ม. 1/6, ว. 1.1 ม. 1/7, ว. 1.1 ม. 1/8, ว. 1.1 ม. 1/9, ว. 1.1 ม. 1/10, ว. 1.1 ม. 1/11, ว. 1.1 ม. 1/12, ว. 1.1 ม. 1/13 ว. 6.1 ม. 1/1, ว. 6.1 ม. 1/2, ว. 6.1 ม. 1/3, ว. 6.1 ม. 1/4, ว. 6.1 ม. 1/5, ว. 6.1 ม. 1/6, ว. 6.1 ม. 1/7 ว. 8.1 ม. 1/1, ว. 8.1 ม. 1/2, ว. 8.1 ม. 1/3, ว. 8.1 ม. 1/4, ว. 8.1 ม. 1/5, ว. 8.1 ม. 1/6, ว. 8.1 ม. 1/7 , ว. 8.1 ม. 1/8, ว. 8.1 ม. 1/9
รวม 26 ตัวชี้วัด
คำอธิบายรายวิชาวิทยาศาสตร์ 2
รายวิชา ว21102 วิทยาศาสตร์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 60 ชั่วโมง
.....ศึกษาวิเคราะห์ การจำแนกสาร สารบริสุทธิ์ สารไม่บริสุทธิ์ สมบัติความเป็นกรด–เบส ของสาร การแยกสาร แรงและการเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ แรงในแบบต่างๆ แรงเสียดทาน โมเมนต์ของแรง โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ โดยการสำรวจตรวจสอบ สืบค้นข้อมูลและการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ คิดอย่างมีเหตุผล สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ สามารถตัดสินใจอย่างเป็นระบบ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่สอดคล้องเหมาะสมกับท้องถิ่น
ตัวชี้วัด
ว. 3.1 ม. 1/1, ว. 3.1 ม. 1/2 , ว. 3.1 ม. 1/3, ว. 3.1 ม.1/4 ว. 3.2 ม. 1/1, ว. 3.2 ม. 1/2 , ว. 3.2 ม. 1/3 ว. 4.1 ม. 1/1, ว. 4.1 ม. 1/2 ว. 5.1 ม. 1/1, ว. 5.1 ม. 1/2 , ว. 5.1 ม. 1/3, ว. 5.1 ม.1/4 ว. 8.1 ม. 1/1, ว. 8.1 ม. 1/2, ว. 8.1 ม. 1/3, ว. 8.1 ม. 1/4, ว. 8.1 ม. 1/5, ว. 8.1 ม. 1/6, ว. 8.1 ม. 1/7 , ว. 8.1 ม. 1/8, ว. 8.1 ม. 1/9
รวม 22 ตัวชี้วัด

ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ม.  หลักสูตร 2551

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""'

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1  วิชาวิทยาศาสตร์  รหัสวิชา ว 21101                             

        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                       ภาคเรียนที่ 1                             ปีการศึกษา  2553

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1   เรื่อง เซลล์และกระบวนการดำรงชีวิตของพืช

เรื่อง  เซลล์และการค้นพบเซลล์                                                                                      เวลา  2 ชั่วโมง

 1. มาตรฐานการเรียนรู้/ ตัวชี้วัด

สาระที่ 1  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

มาตรฐาน ว  1. 1  เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของ ระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต

ตัวชี้วัด  1.1  ม. 1/ 1

                   1. สังเกตและอธิบายรูปร่างลักษณะของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์

           มาตรฐาน ว 8.1     ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

          ตัวชี้วัด

          1.  ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจได้อย่างครอบคลุมและเชื่อถือได้

          2. รวบรวมข้อมูล จัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ

          3.  บันทึกและอธิบายผลการสังเกต การสำรวจ ตรวจสอบ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และยอมรับการ เปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบเมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้นหรือโต้แย้งจากเดิม

          4.จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

2. สาระสำคัญ

                   สิ่งมีชีวิตจะดำรงชีวิตอยู่ได้จะต้องประกอบด้วยหน่วยย่อยเล็ก ๆ ที่เรียกว่า เซลล์ เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น การศึกษาส่วนประกอบของเซลล์จึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ช่วยขยายขนาดของเซลล์ ทำให้ศึกษารูปร่างและลักษณะของเซลล์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

3. จุดประสงค์การเรียนรู้  

                3.1 ด้านความรู้

3.1.1 อธิบายความหมายของเซลล์และการค้นพบเซลล์ได้

3.1.2 อธิบายวิธีใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อศึกษาลักษณะของเซลล์ได้

3.1.3 อธิบายลักษณะ รูปร่างและส่วนประกอบของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ภายใต้

กล้องจุลทรรศน์ได้

                   3.2 ด้านทักษะกระบวนการ

                         ใช้กล้องจุลทรรศน์ได้

                   3.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                         การร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  ความมีเหตุผล
การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์

4.  บูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

             รอบรู้  รอบคอบ ระมัดระวัง

5.  สาระการเรียนรู้

                5.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                         5.1.1 เซลล์และสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

                         5.1.2 วิธีใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อศึกษาลักษณะของเซลล์

             5.2  สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                                       -

6.  กระบวนการจัดการเรียนรู้ (กระบวนการสืบเสาะหาความรู้)

                         1.   ขั้นสร้างความสนใจ          

                              1.1ครูถามนักเรียนว่าร่างกายของคนเราหรือสัตว์ประกอบขึ้นด้วยส่วนประกอบใดบ้าง และหน่วยที่เล็กที่สุดที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายคืออะไร

                                1.2 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายในประเด็น

                                -     เซลล์คืออะไร

                                -     นักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบเซลล์คนแรกเป็นใคร

                                -     นักเรียนจะศึกษาลักษณะของเซลล์ได้อย่างไร

                              1.3 ครูนำอภิปรายถึงการใช้อุปกรณ์ที่ช่วยในการมองเห็น ได้แก่ แว่นขยาย
กล้องจุลทรรศน์ และกล้องโทรทรรศน์ นักเรียนร่วมกันอภิปรายจำแนกรายละเอียดถึงความแตกต่าง
ในการเลือกใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ดังกล่าว จากนั้นให้นักเรียนศึกษาส่วนประกอบและการใช้กล้องจุลทรรศน์ จากใบความรู้ เรื่อง กล้องจุลทรรศน์ คิดลำดับเหตุการณ์ขั้นตอนการใช้กล้องจุลทรรศน์ศึกษาสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

                               1.4  ครูสาธิตการใช้กล้องจุลทรรศน์และอธิบายประเภท ส่วนประกอบ และวิธีการใช้กล้องจุลทรรศน์ให้นักเรียนเข้าใจ

                   2.   ขั้นสำรวจและค้นหา

                         2.1 นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยคละเพศและความสามารถ และแจ้งให้นักเรียนทราบว่าผลงานของนักเรียนคือ ผลงานของกลุ่ม โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มมีหมายเลขประจำตัว เช่น คนที่ 1 หมายเลข 1 คนที่ 2 หมายเลข 2 คนที่ 3 หมายเลข 3 และคนที่ 4 หมายเลข 4 และให้สมาชิกแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานตามหมายเลขที่ได้

                                หมายเลข   1      อ่านกิจกรรมใบความรู้ 

                                หมายเลข   2      ตรวจอุปกรณ์ วิเคราะห์ข้อมูล

                                หมายเลข   3      ทำการทดลอง  ทำกิจกรรม

                                หมายเลข   4      บันทึกผลการทดลอง  ตอบคำถาม

                             2.2 ให้ตัวแทนกลุ่มรับกล้องจุลทรรศน์พร้อมอุปกรณ์ไปศึกษากลุ่มละ 1 ชุด นักเรียน
ใช้กระบวนการกลุ่มอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับส่วนประกอบและวิธีใช้กล้องจุลทรรศน์ จากใบงาน เรื่อง การใช้กล้องจุลทรรศน์

                   3.   ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป

                         3.1 นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมานำเสนอผลการทดลองหน้าชั้นเรียน

                         3.2 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทดลอง โดยใช้แนวคำถาม ต่อไปนี้

                                -     เมื่อนักเรียนใช้เลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายต่ำ และเลนส์ใกล้วัตถุกำลังขยายสูง
ภาพที่ปรากฏในกล้องจุลทรรศน์แตกต่างกันอย่างไร

                                -     ลักษณะของภาพ ที่ปรากฏในกล้องจุลทรรศน์เป็นอย่างไร  

                                -     ถ้าต้องการเลื่อนภาพลงด้านล่างไปทางขวา จะต้องเลื่อนสไลด์ไปทางใด

                         3.3 นักเรียนและครูร่วมกันสรุปผลการทดลอง โดยให้ได้ข้อสรุปดังนี้

                                -     จากผลการทดลองพบว่าเมื่อนำสไลด์ มาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ภาพที่ปรากฏจะมีขนาดใหญ่กว่าภาพที่เห็นด้วยตาเปล่า และลักษณะของภาพจะเป็นภาพกลับซ้ายไปขวา และกลับบนลงล่าง

                   4.   ขั้นขยายความรู้

                         4.1 ให้นักเรียนที่นั่งใกล้กันจับคู่กันศึกษาใบความรู้ เรื่อง เซลล์และการค้นพบเซลล์

                         4.2  นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับความหมายของเซลล์ การค้นพบเซลล์การใช้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อศึกษาลักษณะของเซลล์ ลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิตและการจัดระบบของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะ ที่ได้จากการเรียน และการปฏิบัติกิจกรรม

                   5.   ขั้นประเมิน

                         5.1 นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์

                        5.2  ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด               

7. สื่อ / แหล่งการเรียนรู้

                   7.1 สื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์ต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง

                   7.2       ใบงานที่ 1 เรื่อง การใช้กล้องจุลทรรศน์

                   7.3       ใบความรู้ที่ 1.1 เรื่อง กล้องจุลทรรศน์

                   7.4 ใบความรู้ที่ 1.2 เรื่อง เซลล์และการค้นพบเซลล์

                   7.5       ห้องสมุด

                   7.6  ห้อง ปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์

8.  การวัดและประเมินผล

                   8.1 วิธีการวัด

                         8.1.1   ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

                         8.1.2   สังเกตทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

                         8.1.3   สังเกตการทำงานกลุ่ม

                         8.1.4   ประเมินผลปฏิบัติการทดลอง

                         8.1.5   การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

                         8.1.6   การตรวจผลงาน

                   8.2 เครื่องมือวัด

8.2.1   แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

8.2.2   แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

8.2.3   แบบประเมินการทำงานกลุ่ม

8.2.4   แบบประเมินผลการทดลอง

8.2.5   แบบประเมินการนำเสนอหน้าชั้น

8.2.6   แบบประเมินผลงาน

8.3 เกณฑ์การประเมิน

       8.3.1  สังเกตการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%

8.3.2   สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์ 80%

8.3.3   สังเกตการปฏิบัติการทดลอง ผ่านเกณฑ์ 80%

8.3.4   การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ผ่านเกณฑ์ 80%

8.3.5   การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์ 80%

 

9.  ข้อเสนอแนะ